เบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาด! แต่สามารถคุมได้ ไม่ให้มีอาการรุนแรง และสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ในอนาคต
เบาหวานแบ่งได้ 3 ชนิด
ชนิดที่ 1 คือ ประเภทที่จะมีภูมิต้านทานฮอร์โมนอินซูลิน
ฮอร์โมนอินซูลิน คือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งถ้าอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่ทำงาน จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและนำไปสู่โรคเบาหวาน
ชนิดที่ 2 ในส่วนของคนที่มีอินซูลิน แต่อินซูลินทำงานไม่เพียงพอ
หรืออินซูลินขี้เกียจ มักเกิดขึ้นในคนอ้วน คนที่ขี้เกียจออกกำลังกาย ส่งผลให้เป็นเบาหวานได้มากขึ้น
ชนิดที่ 3 คนที่เป็นโรคตับอ่อน
ซึ่งตัวตับอ่อนมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน เช่น คนที่ดื่มเหล้าเยอะๆ เป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้การทำงานของตับอ่อนในภาพรวมลดลง และนำไปสู่เบาหวานได้เช่นกัน
ความอันตรายของเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะแรก คือการที่น้ำตาลในเลือดสูง หรือสูงขึ้นเฉียบพลัน เช่น 400-500 เกลือแร่ผิดปกติ มีภาวะขาดน้ำ จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เพราะจะทำให้คนไข้ซึมลงได้ หรือในภาวะที่เรียกว่า “ช็อกน้ำตาล”
ระยะที่ 2 คือเป็นเบาหวานมานานแล้วไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ในระยะเวลายาวนาน จะทำให้เส้นเลือดพัง เส้นเลือดแข็งง่ายขึ้น ตีบง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเส้นเลือดทั่วร่างกายตีบ ก็จะส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงขั้นการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบก็จะส่งผลให้หัวใจขาดเลือด ถ้าเส้นเลือดที่ขาตีบก็จะทำให้เวลาเป็นแผล แผลก็จะหายช้า เนื่องจาก “แผลขาดเลือด” ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้ต้องตัดขาทิ้ง เรียกว่า ส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย
ความอ้วนทำให้เกิดเบาหวานได้อย่างไร
ปัจจุบันเบาหวานชนิดที่ 2 จะเป็นชนิดที่ถูกตรวจพบมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนที่มีรูปร่างอ้วน หรือคนที่อายุเยอะ ความอ้วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินซึ่งถูกสร้างมาจากตับอ่อน ทำหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ไปเป็นพลังงาน ซึ่งคนอ้วนนั้นมีไขมันที่เพิ่มขึ้นทำให้อินซูลินทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้นำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้น้อย น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น
ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานอาหารได้ แต่ร่างกายกลับซูบผอมลง เนื่องจากร่างกายไม่มีพลังงานจากน้ำตาล จึงหันไปเผาผลาญไขมัน และกล้ามเนื้อแทน ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีร่างกายเริ่มซูบผอม และไม่มีแรง เมื่อมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
หนีห่างความอ้วน…ลดความเสี่ยงเบาหวาน
- เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เช่น ขึ้นบันได แทนขึ้นลิฟต์, ทำงานบ้านเองแทนการใช้เครื่องอำนวยความสะดวก เดิน แทนการขี่จักรยาน เป็นต้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ประเมินความสมส่วนของร่างกาย โดยการวัดดัชนีมวลกาย หรือวัดรอบเอวอยู่เสมอ
- กินอาหารให้สมดุล เพิ่มอาหารจำพวกปลา ถั่ว ธัญพืช ผัก และผลไม้ให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารติดมัน เช่น หนังไก่ อาหารหวาน เค็ม อาหารทอด หรือขนมขบเคี้ยว
- ชิมอาหารทุกครั้งก่อนปรุง เพื่อจะได้ไม่กินอาหารหวาน หรือ เค็มเกินไป
- กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ ในปริมาณที่พอเหมาะสมดุล โดยเฉพาะมื้อเช้า
- งดเหล้า และบุหรี่
สำหรับคนที่อ้วนจริงๆ และมีน้ำตาลในเลือดสูง การลดความอ้วนหรือการลดอาหารก็สามารถที่จะช่วยได้ เมื่อลดอาหาร น้ำตาลก็จะไม่เยอะ พอน้ำหนักลดลงอินซูลินก็จะไม่ขี้เกียจ ซึ่งจะช่วยเสริมกัน ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไปหนีห่างความอ้วน… ลดเสี่ยงเบาหวาน
References
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/diabetes-mellitus
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ เบาหวาน-ไม่หายขาดแต่คุมได้
https://www.synphaet.co.th/เบาหวาน-กับ-ความอ้วน/