น้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) สำคัญอย่างไร

น้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) คืออะไร
HbA1c หรือ การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะวเลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเราได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลส่วนที่เหลือในเลือดจะไปจับกับเม็ดเลือดแดงจนมีปริมาณฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ค่าน้ำตาลเฉลี่ยจะช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose หรือ FPG) ในผู้ป่วยเบาหวานแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 2-4 ครั้ง เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มากกว่า หรือเท่ากับ 6.5%
ค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเป็นอย่างไร
คนปกติ : ค่าช่วง HbA1c = น้อยกว่า 6.0 mg/% (ค่าปกติ)
คนเสี่ยงเป็นเบาหวาน : ค่าช่วง HbA1c = 6.0 – 6.4 mg/%
คนเป็นเบาหวาน : ค่าช่วง HbA1c = มากกว่า หรือเท่ากับ 6.5 mg/% (ค่าสูง)
HbA1c แตกต่างอย่างไรกับค่าน้ำตาลทั่วไป
เรามักคุ้นเคยกับการอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง เพื่อไปตรวจสุขภาพ ค่าน้ำตาลที่ได้จะบอกได้คร่าวๆว่าวันสองวันที่ผ่านมาคุณทานอาหารที่มีน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน แต่การตรวจหาค่า HbA1c เป็นตัวช่วยประเมินความสามารถในการควบคุมเบาหวานในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้ชัดเจนกว่า ไม่ใช่แค่เพียงวันสองวันก่อนการตรวจ
เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบันระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะมีค่าที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นกับอายุ, ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน, การมีโรคแทรกซ้อน, ความเจ็บป่วยและโรคร่วม รวมถึงประวัติการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ

References :

https://www.dmthai.org
https://dmthai.org/new/images/knowledge/knowledge_2561/9301.jpg
https://www.phyathai.com/th/article/1716-รู้มั้ย_ค่า_hba1c_ในผลตรวจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *