เบาหวานแห้ง – เบาหวานเปียก คืออะไร

เบาหวานแห้ง – เบาหวานเปียก คืออะไร
ชนิดของโรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกได้หลายประเภททั้งจากสาเหตุของโรค หรือ จากอาการที่ปรากฎ โดยการแบ่งชนิดของโรคเบาหวานออกเป็นเบาหวานแห้งและเบาหวานเปียกนั้น แบ่งโดยใช้ลักษณะของแผลที่ปรากฎเป็นหลัก โดยโรคเบาหวานทั้งสองมีนิยามง่าย ๆ ดังนี้
เบาหวานแห้ง
เบาหวานแห้ง คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เป็นแบบเรื้อรัง โดยไม่ได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เนื่องจากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ แม้จะน้ำตาลในเลือดสูงก็ตาม ร่างกายจึงจำเป็นต้องเผาผลาญสลายกล้ามเนื้อและไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้น้ำหนักลดลงเร็วผิดปกติ ร่างกายซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งมักมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ผิวแห้งคัน หากเราสังเกตบาดแผลจะพบว่าสามารถแห้งได้ด้วยตนเอง แต่เบาหวานแห้งนี้นับว่าเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการบ่งบอกถึงขั้นกว่าของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอรโมนอินซูลินได้ด้วยตนเอง นำไปสู่สภาวะที่คาร์โบไฮเดรตไม่สามารถแปรเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลได้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาเพื่อควบคุมระดับในน้ำตาลให้เหมาะสม ก่อนที่จะปล่อยให้มีระดับน้ำตาลจะสูงอย่างเรื้อรังจนส่งผลทำให้เกิดเบาหวานแห้งในที่สุด
เบาหวานเปียก
เป็นโรคเบาหวานอีกชนิดที่เป็นแบบเรื้อรังเช่นกัน และ โรคเบาหวานชนิดนี้จะค่อนข้างน่ากังวลกว่าชนิดแรก เพราะเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นตามร่างกายส่วนต่าง ๆ แล้ว บาดแผลเหล่านั้นมักไม่สมานตัวหายเอง ยังคงมีลักษณะของบาดแผลที่เปียกเหมือนเพิ่งเป็นแผลหรือเพิ่งบาดเจ็บใหม่ ๆ อยู่เสมอ อีกทั้งบาดแผลเหล่านี้ยังสามารถลุกลามขยายวงกว้าง ทำให้การรักษายากมากขึ้นไปอีก
อาการของ เบาหวานแห้ง เบาหวานเปียก
อาการของ เบาหวานแห้ง สังเกตได้ ดังนี้
• น้ำหนักลดลง โดยโรคเบาหวานแห้ง ผอมลงมาก ช่วงแรกผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดแห้งอาจมีความดีใจว่าสามารถควบคุมน้ำตาลได้ น้ำหนักตัวกลับมาเป็นปกติ แต่หลายๆ ท่านที่กำลังเป็นโรคเบาหวานเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานชนิดแห้งนี้น้ำหนักจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 1 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน หรือ บางรายที่มีอาการหนักหน่อยก็จะลดลงถึง 5 กิโลกรัมต่อ 3 เดือน
• ร่างกายซูบผอม ส่วนนี้เป็นอาการเบาหวานแห้งที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนทั้งจากตัวผู้ป่วยเอง และจากคนรอบข้าง
• แขนขาลีบ เมื่อเกิดอาการแขนขาลีบทั้งๆ ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานดำเนินชีวิตตามปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะโรคเบาหวานเรื้อรังชนิดเบาหวานแบบแห้งแล้ว
• การนั่งพับเพียบไม่ได้ หรือ การนั่งบนพื้นที่มีลักษณะแข็งแล้วเกิดอาการปวดนั้น ก็เป็นอาการที่สังเกตได้ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากกระดูกที่ทิ่มออกมาอย่างชัดเจน เพราะไม่มีผิวหนังหุ้มไว้อย่างเพียงพอนั่นเอง
• อ่อนเพลียแม้จะพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็ยังเกิดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ขาดสมาธิในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือ ในผู้ป่วยบางรายก็มีอาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการนอนไม่หลับด้วย
• อารมณ์แปรปรวน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอก็ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ป่วยได้ ทั้งอารมณ์แปรปรวน หรือ หงุดหงิดง่าย
• กระหายน้ำบ่อย โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน
• ปัสสาวะช่วงกลางคืนบ่อย ส่งผลต่อให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอตามมาได้
• ผิวหนังแห้ง เมื่อเกิดอาการผิวหนังแห้งจะเป็นแผลปริได้ง่าย หรือ ผิวหนังแห้งจนคัน เมื่อคันก็เกา เมื่อเกาก็ทำให้เกิดแผลตามมา
• หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นหนึ่งอาการที่ต้องคอยสังเกต เพราะอาการดังกล่าวผู้ที่เป็นจะสังเกตได้ก่อนผู้อื่นเลย คำสั้นๆ ที่เอ่ยเบาๆ ก็เจ็บ และสามารถกลายเป็นปัญหาของการแต่งงานได้
• ตาพร่ามัว มองไม่ค่อยชัด
อาการของ เบาหวานเปียก สังเกตได้ ดังนี้
• อาการปรากฎคล้ายคลึงกับโรคเบาหวานชนิดแห้ง
• จะเป็นแผลที่เรื้อรัง หายช้ากว่าโรคเบาหวานชนิดแห้งมาก
• แผลจะไม่ค่อยแห้ง ทำให้ดูเหมือนแผลเพิ่งเกิดขึ้น แม้จะเป็นมาสักระยะแล้ว

References :

https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/insulin/
https://www.pobpad.com/ถาม/หัวข้อ/เบาหวานแห้งกับเบาหวานเปียก/
https://www.who.int/health-topics/diabetes#tab=tab_1
https://www.synphaet.co.th/เบาหวาน/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *