แผลเบาหวานที่เท้า
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมแผลเบาหวานส่วนใหญ่จึงเกิดที่เท้า เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีเส้นเลือดตีบและอาการเสื่อมของระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายทำให้เกิดอาการชา เมื่อเป็นแผลที่เท้าในช่วงแรกมักไม่รู้สึก แต่จะรู้สึกเมื่อแผลรุนแรง ทำให้รักษายาก หายช้า และอาจร้ายแรงถึงขั้นตัดเท้า
ปัญหาสุขภาพเท้าที่มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวาน
1.Blister
เป็นถุงน้ำที่มีเลือดหรือน้ำเหลืองอยู่ด้านใน เกิดจากการเสียดสีระหว่างเท้ากับพื้นรองเท้า ป้องกันได้ด้วยการใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่มีขนาดเหมาะสม
2.Foot Ulcer
แผลเบาหวานมักเกิดที่ Fore foot ซึ่งมีแรงกดมากหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดเนื้อตาย (Gangrene) นำไปสู่การตัดขาได้
3.Calluses
เป็นผิวหนังที่หนาขึ้นมักเกิดที่ส้นเท้า เกิดจากแรงกดที่มากเกินไป หากปล่อยให้หนามากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีการติดเชื้อตามมาและนำไปสู่การเกิดแผลได้
4.Corns
เป็นผิวหนังที่มีการหนาตัวเป็นรูปกรวย(coniacal shape) เกิดจากมีแรงกดและแรงเสียดทานอย่างต่อเนื่อง การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะลดการเกิดได้
5.Foot warts
เป็นผิวหนังที่งอกขึ้นเป็นรูปวงกลม บางครั้งขึ้นเดี่ยวๆ บางครั้งขึ้นเป็นกลุ่ม เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ควรใช้วัตถุมีคมเอาออกเองเพราะจะทำให้เกิดเป็นแผลติดเชื้อได้
6.Bunions
เป็นกระดูกงอกเกิดที่ฐานของนิ้วหัวแม่เท้า สาเหตุมักเกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่มีขนาดไม่เหมาะสม ซึ่งพันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าหากรบกวนการสวมใส่รองเท้าควรตัดออกและเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
แผลเบาหวานจะมีความรุนแรง แตกต่างกันออกไป แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

References
http://www.industry.co.th/t1/knowledge_detail.php?id=1388&uid=40452
https://www.bangkokhealth.com/v2/research-weekly-13.html
https://allwellhealthcare.com/diabetic-ulcer/