ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงโรคหัวใจ & หลอดเลือด

ไขมันในเลือดสูง คือภาวะที่ร่างกาย มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มารู้ทัน พร้อมหาวิธีป้องกันความเสี่ยงโอกาสที่จะเกิดโรค
โรคหัวใจ และหลอดเลือด มีสาเหตุหนึ่งมาจากโรค ไขมันในเลือดสูง อาจเกิดจากระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์อย่างใดอย่างหนึ่ง สูงผิดปกติ หรือสูงทั้งสองอย่างก็ได้ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

  1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
    แบ่งเป็น ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี เป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และหลอดเลือดสมองตีบ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี เป็นคอเลสเตอรอลประเภทหนึ่งเหมือนกัน แต่จะทำหน้าที่กำจัดไขมันชนิดอันตรายออกไปจากกระแสเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
    เป็นไขมันประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจมีการสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้เช่นกันเมื่อมีปริมาณสูงมาก ๆ แต่จะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าไขมันชนิดคอเลสเตอรอล

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
  2. ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคไต
  3. ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
  4. การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย ไข่ เป็นต้น
  5. มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การป้องกันการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง

  1. เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาล และเกลือ
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. งดสูบบุหรี่
  4. ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยการวิ่ง เดินเร็ว หรือที่จักรยาน ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด และเพิ่มระดับของ HDI ได้อย่างดี ควรทำอย่างต่อเนื่องสัปดาท์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที

การที่เราต้องรู้ว่า ไขมันในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับใด และมีไขมันแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด เพราะไม่ใช่ไขมันทุกชนิดที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย ซึ่งสามารถเช็กค่าไขมันของเราได้ด้วยการตรวจสุขภาพ  เพื่อให้ทราบปริมาณไขมันแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ

 – หากมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจเลือดเพื่อวัดระดับไขมันทุกๆ 1-2 ปี

– หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจเลือดทุกๆ 6 เดือน

ภาวะไขมันในเลือดสูง ล้วนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของตัวเราเอง หากใส่ใจสุขภาพ และรู้จักป้องกันความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดโรคก็ลดลง ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตได้อย่างยาวนาน และมีความสุขเพิ่มขึ้น

References

https://www.nhealth-asia.com/th/blog/dyslipidemia_risk_of_cardiovascular_disease
https://ch9airport.com/th/ไขม้นในเลือดสูง/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *